วันเช็งเม้ง หรือ ชิงหมิงเจี่ย (Qingming Festival / 清明节) เป็นประเพณีที่มีความสำคัญและยาวนานมากกว่า 2,500 ปีในวัฒนธรรมจีน ซึ่งจัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงบรรพบุรุษและแสดงความเคารพต่อผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นเวลาที่ลูกหลานจะมารวมตัวกันเพื่อทำความสะอาดฮวงซุ้ย (สุสาน) และจัดเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูและแสดงความเคารพให้เกียรติบรรพบุรุษ

เทศกาลเช็งเม้ง ไหว้ให้ถูกต้อง ชีวิตเฮงตลอดไป

เทศกาลเช็งเม้ง หรือ ชิงหมิงเจี่ย (Qingming Festival / 清明节)

เทศกาลเช็งเม้ง หรือที่เรียกว่า “ชิงหมิงเจี๋ย” (Qingming Festival / 清明节) เป็นประเพณีที่มีความสำคัญและยาวนานมากกว่า 2,500 ปีในวัฒนธรรมจีน ซึ่งจัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงบรรพบุรุษและแสดงความเคารพต่อผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นเวลาที่ลูกหลานจะมารวมตัวกันเพื่อทำความสะอาดฮวงซุ้ย (สุสาน) และจัดเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูและแสดงความเคารพให้เกียรติบรรพบุรุษ

 ความหมายของเช็งเม้ง

  • “เช็ง” หรือ “ชิง” “เฉ่ง” หมายถึง สะอาด บริสุทธิ์
  • “เม้ง” หรือ “หมิง” หมายถึง สว่าง
  • รวมกันหมายถึง ช่วงเวลาแห่งความแจ่มใส รื่นรมย์
วันเช็งเม้ง หรือ ชิงหมิงเจี่ย (Qingming Festival / 清明节) เป็นประเพณีที่มีความสำคัญและยาวนานมากกว่า 2,500 ปีในวัฒนธรรมจีน ซึ่งจัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงบรรพบุรุษและแสดงความเคารพต่อผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นเวลาที่ลูกหลานจะมารวมตัวกันเพื่อทำความสะอาดฮวงซุ้ย (สุสาน) และจัดเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูและแสดงความเคารพให้เกียรติบรรพบุรุษ

ประวัติความเป็นมา

เทศกาลเช็งเม้งมีต้นกำเนิดมาตั้งแต่ สมัยราชวงศ์โจว (Zhou Dynasty) (ประมาณ 1046 – 256 ปีก่อนคริสต์ศักราช) จากการรวมกันของ 2 เทศกาลในสมัยโบราณของจีน คือ เทศกาลหันสือเจี๋ย (寒食节) และเทศกาลชิงหมิง (清明节) โดยเทศกาลหันสือเจี๋ย เป็นเทศกาลวันกินอาหารเย็น (Cold Food Festival) ซึ่งจัดขึ้นเพื่อรำลึกถึง เจี๋ยจื่อทุย (Jie Zitui / 介子推) ข้าราชบริพารผู้ซื่อสัตย์ที่เสียชีวิตจากเหตุไฟไหม้ในสมัยชุนชิว ส่วนเทศกาลชิงหมิงเป็นช่วงเวลาที่ผู้คนออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้งและเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ต่อมาเทศกาลทั้งสองได้รวมกันเป็น “เทศกาลเช็งเม้ง”

 วันเช็งเม้งได้รับการประกาศให้เป็นวันหยุดราชการอย่างเป็นทางการ ในสมัยราชวงศ์ถัง (Tang Dynasty) (ค.ศ. 618 – 907)

พรรคคอมมิวนิสต์จีน (Chinese Communist Party) ให้การรับรองให้เป็นวันหยุดราชการในปี ค.ศ. 2008

วันชิงหมิง หรือ เช็งเม้งเป็นวันแรกสารทที่ 5 ของชาวจีน ในปฏิทินสุริยจันทรคติจีนดั้งเดิม ในวันชิงหมิง ครอบครัวชาวจีนจะเดินทางไปเยี่ยมหลุมฝังศพบรรพบุรุษเพื่อทำความสะอาดสุสานและทำพิธีบูชาบรรพบุรุษด้วยการวางเครื่องเซ่นไหว้ เพื่อแสดงความเคารพ กตญญูต่อบรรพบุรุษ ตรงกับวันที่ 15 หลังวิษุวัตมีนาคม ซึ่งอยู่ในช่วงวันที่ 4, 5 หรือ 6 เมษายนในแต่ละปี

 

วันเช็งเม้ง 2568 ไหว้วันไหน

เทศกาลเช็งเม้งในประเทศไทย มักถือวันที่ 5 เมษายนเป็นหลัก และขยายช่วงเวลาให้สามารถไหว้ได้ตั้งแต่ 3 วันก่อน ถึง 3 วันหลัง รวมเป็น 7 วัน คือระหว่างวันที่ 2 ถึง 8 เมษายน

อย่างไรก็ตาม เพื่อความสะดวกของครอบครัวที่อาจมีข้อจำกัดด้านเวลาและการเดินทาง ปัจจุบันทางสุสานต่าง ๆ มีการขยายช่วงเวลาให้เริ่มไหว้ได้ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม ถึง 8 เมษายน เพื่อให้ทุกครอบครัวสามารถเลือกวันที่เหมาะสมและสะดวกที่สุดในการไปไหว้บรรพบุรุษ

วันเช็งเม้ง 2568 ถือวันที่ 5 เมษายนเป็นวันหลักของเทศกาลเช็งเม้ง แต่สามารถไหว้ล่วงหน้าได้ตั้งแต่ 15 มีนาคม – 8 เมษายน เพื่อความสะดวกในการเดินทางของแต่ละครอบครัว

วันเช็งเม้ง 2568 ไหว้วันไหน เทศกาลเช็งเม้งในประเทศไทย มักถือวันที่ 5 เมษายนเป็นหลัก และขยายช่วงเวลาให้สามารถไหว้ได้ตั้งแต่ 3 วันก่อน ถึง 3 วันหลัง รวมเป็น 7 วัน คือระหว่างวันที่ 2 ถึง 8 เมษายน อย่างไรก็ตาม เพื่อความสะดวกของครอบครัวที่อาจมีข้อจำกัดด้านเวลาและการเดินทาง ปัจจุบันทางสุสานต่าง ๆ มีการขยายช่วงเวลาให้เริ่มไหว้ได้ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม ถึง 8 เมษายน เพื่อให้ทุกครอบครัวสามารถเลือกวันที่เหมาะสมและสะดวกที่สุดในการไปไหว้บรรพบุรุษ

ขั้นตอนการไหว้เช็งเม้ง 2568

การเตรียมของไหว้เช็งเม้งและขั้นตอนต่าง ๆ มีความสำคัญเพื่อให้พิธีสมบูรณ์และเป็นสิริมงคล ควรปฏิบัติตามลำดับอย่างถูกต้องเพื่อแสดงความเคารพ ต่อไปนี้คือลำดับการไหว้เช็งเม้ง 2568 ที่ถูกต้อง

1. การทำความสะอาดและตกแต่งสุสาน

ลูกหลานจะไปทำความสะอาดสุสานของบรรพบุรุษ ตัดหญ้า ถางพุ่มไม้ และซ่อมแซมสุสานที่ชำรุด ให้สะอาด เรียบร้อย และสวยงาม เพื่อแสดงความเคารพต่อบรรพบุรุษและเจ้าที่

– สิ่งที่ต้องเตรียม (อุปกรณ์ทำความสะอาด)
  • อุปกรณ์ทำความสะอาดฮวงซุ้ย เช่น ไม้กวาด ถังน้ำ ผ้า แปรง ถุงขยะ เป็นต้น
  • กรรไกรตัดหญ้า
  • สีทาป้ายชื่อบรรพบุรุษ และป้ายคนเป็น (จองพื้นที่สุสานล่วงหน้า, แซกี)
  • กระดาษสายรุ้ง
  • ดอกไม้สด
– ทำความสะอาด และลงสีที่ป้ายชื่อให้ดูใหม่
  • ป้ายสุสานบรรพบุรุษ – ใช้สีเขียว หรือสีทองขลิบเขียว
  • ป้ายคนเป็น – ใช้สีแดง
– ตกแต่งสุสานด้วยกระดาษสายรุ้งและโปรยดอกไม้
  • กระดาษสายรุ้ง
    • สำหรับบรรพบุรุษ – ใช้หลายสี
    • สำหรับคนเป็น (จองพื้นที่สุสานล่วงหน้า) – ใช้สีแดง
  • โปรยดอกไม้สด
    • สำหรับบรรพบุรุษ – ใช้ดอกไม้สีขาวหรือเหลือง เช่น ดาวเรือง มะลิ
    • สำหรับคนเป็น – ใช้ดอกไม้สีสด เช่น กุหลาบแดง

2. พิธีไหว้และเผากระดาษ

ลูกหลานจะนำอาหาร ผลไม้ และเครื่องเซ่นไหว้อื่นๆ ไปเซ่นไหว้เจ้าที่ และบรรพบุรุษที่สุสาน จากนั้นจะเผากระดาษเงินกระดาษทอง เพื่อส่งของใช้จำเป็นให้กับบรรพบุรุษในโลกหลังความตาย

  • กราบไหว้เจ้าที่

การไหว้เจ้าที่เป็นการให้เกียรติและขอบคุณที่ช่วยดูแลสุสาน บางสถานที่มีทั้งเจ้าที่หน้าหลุม (อู่โทว้) และเจ้าที่ประจำสุสาน (แป๊ะกง) ต้องเตรียมของไหว้เช็งเม้งให้ครบถ้วน ห้ามขาดหรือลืม ส่วนของที่ใช้ไหว้เจ้าก็เหมือนกันกับของไหว้เจ้าตรุษจีน

– สิ่งที่ต้องเตรียม (ของไหว้เจ้าที่)
  • ชุดไหว้เช็งเม้ง ซาแซ (เนื้อสัตว์ 3 อย่าง) โหงวแซ (เนื้อสัตว์ 5 อย่าง)
  • ของหวานและผลไม้ 3 หรือ 5 อย่างตามจำนวนของไหว้
  • เชิงเทียน และเทียนแดง 1 คู่
  • กระถางธูป และธูป 5 ดอก
  • ข้าวสวย 3 หรือ 5 ถ้วย
  • ถ้วยน้ำชา หรือถ้วยเหล้า (จำนวนเท่ากับจำนวนข้าว)
  • ถ้วยน้ำดื่ม (จำนวนเท่ากับจำนวนข้าว)
  • กระดาษเงิน – กระดาษทอง ชุดไหว้เจ้าที่
  • กราบไหว้บรรพบุรุษ

การไหว้บรรพบุรุษเป็นหัวใจหลักของวันเช็งเม้ง เพื่อระลึกถึงคุณงามความดีและส่งความปรารถนาดีให้ท่าน

– สิ่งที่ต้องเตรียม (ของไหว้บรรพบุรุษ)
  • ชุดไหว้เช็งเม้ง ซาแซ (เนื้อสัตว์ 3 อย่าง) โหงวแซ (เนื้อสัตว์ 5 อย่าง)
  • ของหวานและผลไม้ 3 หรือ 5 อย่างตามจำนวนของไหว้
  • กับข้าวที่บรรพบุรุษชอบ และมีน้ำซุปเป็นส่วนประกอบด้วยอย่างน้อย 1 อย่าง
  • หอยแครงลวกพร้อมเปลือก – สื่อถึงความกตัญญูและความสามัคคีของลูกหลาน
  • เชิงเทียน และเทียนแดง 1 คู่
  • กระถางธูป และธูปตามจำนวนบรรพบุรุษ (ท่านละ 1 ดอก)
  • ข้าวสวยตามจำนวนบรรพบุรุษที่ไหว้แต่ไม่เกิน 5 ถ้วย
  • ตะเกียบ (จำนวนเท่ากับจำนวนข้าว)
  • ถ้วยน้ำชา หรือถ้วยเหล้า (จำนวนเท่ากับจำนวนข้าว)
  • ถ้วยน้ำดื่ม (จำนวนเท่ากับจำนวนข้าว)
  • กระดาษเงิน-กระดาษทอง ต้องมีอ่วงแซจี๊ สำหรับเป็นใบเบิกทาง
  • ชุดกระดาษเครื่องใช้ เช่น เสื้อผ้า รองเท้า บ้านกระดาษ รถยนต์กระดาษ (ขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละครอบครัว)

3. พิธีไหว้และเผากระดาษ

  • ขั้นตอนนี้เริ่มโดยผู้อาวุโสในครอบครัวนำลูกหลานกราบไหว้จนเทียนใกล้หมดก้าน ลาของไหว้
  • ลูกหลานตีวงล้อมรอบบริเวณที่เผา เพื่อกำหนดขอบเขตและป้องกันวิญญาณอื่นเข้ามาแย่งชิง (ต้องเป็นลูกหลานเท่านั้นที่ยืนล้อมรอบ)
  • เผากระดาษเงิน กระดาษทองและของใช้กระดาษ
  • จุดประทัดเพื่อขับไล่สิ่งไม่ดี ต้องดูตำแหน่งทิศก่อนจุดทุกปี

 4. รับประทานของไหว้ร่วมกัน

หลังจากเสร็จพิธีไหว้ ลูกหลานจะนำอาหารที่เซ่นไหว้เช็งเม้งมารับประทานร่วมกัน เพื่อแสดงความสามัคคีและความเป็นสิริมงคลรับโชคลาภจากบรรพบุรุษ

  • ปัจจุบันบางครอบครัวทานที่ลานหน้าสุสาน
  • บางครอบครัวนำกลับไปทานที่บ้าน หรือนัดกันไปทานที่ร้านอาหารใกล้ๆ สุสาน
ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับพิธีเช็งเม้ง รวมถึงข้อเท็จจริงที่ควรรู้เพื่อให้การไหว้ถูกต้องตามประเพณีและหลักฮวงจุ้ย การถอนหญ้าด้วยมือ เชื่อว่าการถอนหญ้าด้วยมืออาจกระทบตำแหน่งต้องห้าม เช่น ทิศอสูร ทิศแตกสลาย หรือทิศดาวเบญจภูติ ซึ่งส่งผลต่อฮวงจุ้ยของสุสาน ควรใช้กรรไกรตัดหญ้าแทนเพื่อความปลอดภัย

ของห้ามไหว้เช็งเม้ง

ในการไหว้เช็งเม้ง มีของบางอย่างที่ไม่ควรนำมาใช้ เพื่อรักษาความเคารพและความเป็นสิริมงคล ดังนี้

  • อาหารประเภทเนื้อสัตว์ ที่ไม่สุก ไม่เหมาะกับการเซ่นไหว้
  • อาหารรสจัดหรือกลิ่นแรง เช่น ทุเรียน กระเทียม – อาจรบกวนวิญญาณหรือเจ้าที่
  • ของที่มีความหมายไม่ดี เช่น สาลี่ – เพราะออกเสียงคล้าย “แยกจาก” ในภาษาจีน และผลไม้ที่มีหนาม เช่น เงาะ ก็ไม่ควรใช้
  • อาหารที่มีสีดำสนิท

 

ความเชื่อและข้อเท็จจริงในวันเช็งเม้ง

ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับพิธีเช็งเม้ง รวมถึงข้อเท็จจริงที่ควรรู้เพื่อให้การไหว้ถูกต้องตามประเพณีและหลักฮวงจุ้ย

การถอนหญ้าด้วยมือ

เชื่อว่าการถอนหญ้าด้วยมืออาจกระทบตำแหน่งต้องห้าม เช่น ทิศอสูร ทิศแตกสลาย หรือทิศดาวเบญจภูติ ซึ่งส่งผลต่อฮวงจุ้ยของสุสาน ควรใช้กรรไกรตัดหญ้าแทนเพื่อความปลอดภัย

การปักธงบนหลังเต่า

มีความเชื่อว่าการปักธงบนหลังเต่า (ส่วนโค้งของสุสาน) เป็นการทิ่มแทงหลุมศพ ทำให้หลังคาบ้านของบรรพบุรุษในโลกวิญญาณรั่วเสียหาย จะส่งผลร้ายต่อลูกหลาน

การปลูกดอกไม้

เชื่อว่าการปลูกดอกไม้บนส่วนโค้งของสุสานจะกระทบเรื่องชู้สาวของลูกหลาน ควรปลูกเฉพาะหญ้าเท่านั้นเพื่อรักษาความสมดุล

การนำดินมากลบหลังเต่า

เชื่อว่าการกลบดินจะทำให้การค้ารุ่งเรือง แต่ควรทำเพื่อซ่อมแซมรอยแหว่งเท่านั้น หากกลบทั้งที่ไม่มีรอย จะรบกวนธรณีและนำโชคร้ายมาให้

การใช้เนื้อหมูสำหรับไหว้เจ้าที่

เจ้าที่บางแห่งอาจเป็นมุสลิมตามความเชื่อท้องถิ่น การงดเนื้อหมูจึงเป็นการแสดงความเคารพและป้องกันการขัดแย้งทางพิธีกรรม

การวางของไหว้บนแท่นหน้าป้ายหิน (เจี๊ยะปี่)

ป้ายหินเป็นทางเข้าออกของวิญญาณบรรพบุรุษ ไม่ใช่ที่วางของไหว้ การวางของไหว้จะขัดขวางเส้นทางวิญญาณและถือว่าไม่เคารพ

การโปรยเปลือกหอยแครงที่สุสาน

ไม่โปรยเปลือกหอยที่ลานด้านหน้า เพราะตามหลักฮวงจุ้ยลานด้านหน้าต้องโล่งและสะอาดเพื่อให้พลังงานไหลเวียนดี แต่ให้โปรยที่เนินดินด้านหลังป้ายสุสานบรรพบุรุษ ตามความเชื่อคือ มีลูกหลานมาก

การจุดประทัดโดยไม่รู้ตำแหน่งหรือฤกษ์

หากจุดถูกตำแหน่งก็จะได้ลาภ หากผิดตำแหน่ง จะเกิดปัญหา หรือประทัดอาจปลิวไปโดนสิ่งติดไฟได้ อาจนำความโชคร้ายมาแทนความเป็นสิริมงคล เพราะฉะนั้น ห้ามจุดประทัด ถ้าไม่รู้ตำแหน่งและเวลาที่เหมาะสม

การกวาดหลุมศพ

ควรทำให้เสร็จสิ้นก่อนเวลา 15.00 น. เพราะเชื่อว่าหลังจากนั้นเป็นช่วงเวลาที่วิญญาณพักผ่อน การกวาดในเวลานี้จะรบกวนและไม่เป็นมงคล

ความเชื่อและข้อเท็จจริงในวันเช็งเม้ง ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับพิธีเช็งเม้ง รวมถึงข้อเท็จจริงที่ควรรู้เพื่อให้การไหว้ถูกต้องตามประเพณีและหลักฮวงจุ้ย การถอนหญ้าด้วยมือ เชื่อว่าการถอนหญ้าด้วยมืออาจกระทบตำแหน่งต้องห้าม เช่น ทิศอสูร ทิศแตกสลาย หรือทิศดาวเบญจภูติ ซึ่งส่งผลต่อฮวงจุ้ยของสุสาน ควรใช้กรรไกรตัดหญ้าแทนเพื่อความปลอดภัย การปักธงบนหลังเต่า มีความเชื่อว่าการปักธงบนหลังเต่า (ส่วนโค้งของสุสาน) เป็นการทิ่มแทงหลุมศพ ทำให้หลังคาบ้านของบรรพบุรุษในโลกวิญญาณรั่วเสียหาย จะส่งผลร้ายต่อลูกหลาน การปลูกดอกไม้ เชื่อว่าการปลูกดอกไม้บนส่วนโค้งของสุสานจะกระทบเรื่องชู้สาวของลูกหลาน ควรปลูกเฉพาะหญ้าเท่านั้นเพื่อรักษาความสมดุล การนำดินมากลบหลังเต่า เชื่อว่าการกลบดินจะทำให้การค้ารุ่งเรือง แต่ควรทำเพื่อซ่อมแซมรอยแหว่งเท่านั้น หากกลบทั้งที่ไม่มีรอย จะรบกวนธรณีและนำโชคร้ายมาให้

ข้อห้ามในวันเช็งเม้ง

วันเช็งเม้งเป็นวันที่ลูกหลานมารวมตัวกันเพื่อรำลึกถึงบรรพบุรุษและแสดงความกตัญญูผ่านพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ นอกจากการเตรียมของไหว้และปฏิบัติตามขั้นตอนแล้ว การรู้จักข้อห้ามต่าง ๆ ในวันนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อรักษาความเคารพต่อผู้ล่วงลับและรักษาบรรยากาศของพิธีให้สงบเรียบร้อย สิ่งต่อไปนี้คือพฤติกรรมและมารยาทที่ควรหลีกเลี่ยงในวันเช็งเม้ง

ห้ามสลับลำดับขั้นตอนของการไหว้

การไหว้เช็งเม้งต้องทำตามลำดับที่ถูกต้อง ตั้งแต่ทำความสะอาดสุสาน ไหว้เจ้าที่ ไปจนถึงไหว้บรรพบุรุษ เพื่อรักษาความเคารพและความเป็นระเบียบของพิธี

ห้ามสวมเสื้อผ้าสีฉูดฉาดหรือโป๊เกินไป

ควรแต่งกายสุภาพด้วยโทนสีเรียบ เช่น ขาว ดำ หรือเทา เพื่อให้เหมาะสมกับบรรยากาศของพิธีห้ามถ่ายรูปในสุสาน

ห้ามส่งเสียงดังหรือหัวเราะ พูดจาไม่สุภาพในสุสานระหว่างพิธี

การรับประทานอาหาร พูดคุยสนุกสนาน หรือหัวเราะดัง ๆ ขณะทำพิธี เป็นการไม่ให้เกียรติผู้ล่วงลับและรบกวนความสงบของสถาน

ห้ามชี้หน้าหลุมศพ
ห้ามเหยียบของเซ่นไหว้
ห้ามไปเยี่ยมเพื่อนหรือญาติในวันนี้

วันเช็งเม้งควรมุ่งเน้นการรำลึกถึงบรรพบุรุษของครอบครัวตนเอง การไปเยี่ยมผู้อื่นอาจทำให้เสียสมาธิจากจุดประสงค์หลัก 

ห้ามร่วมพิธีไหว้ของครอบครัวอื่น

การเข้าร่วมพิธีของครอบครัวอื่นโดยไม่ได้รับเชิญ อาจรบกวนความเป็นส่วนตัวและนำโชคร้ายมาสู่ตนเอง 

ห้ามทิ้งขยะหรือสิ่งของที่ไม่จำเป็นในสุสาน

เช่น เปลือกผลไม้หรือขยะอาหาร ควรเก็บกลับเพื่อรักษาความสะอาดและแสดงความเคารพต่อสถานที่และผู้มาไหว้ท่านอื่น

 เทศกาลเช็งเม้งเป็นช่วงเวลาที่ลูกหลานได้แสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ และได้ใช้เวลาร่วมกันในครอบครัว การปฏิบัติตามขั้นตอนและข้อห้ามต่างๆ จะช่วยให้การไหว้เช็งเม้งเป็นไปอย่างราบรื่นและเป็นสิริมงคล 

 

สรุปส่งท้าย

เทศกาลเช็งเม้งไม่ใช่แค่วันหยุดหรือพิธีกรรมประจำปี ในวันเช็งเม็งเป็นโอกาสที่ลูกหลานได้แสดงความกตัญญูและรำลึกถึงบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ เดินทางไปยังสุสานของบรรพบุรุษเพื่อทำความสะอาดสถานที่ และวางเครื่องเซ่นไหว้ทั้งดอกไม้และขนม การไหว้เจ้าที่และบรรพบุรุษ เพื่อขอพรให้ชีวิตของสมาชิกในครอบครัวมีความเจริญรุ่งเรือง ปลอดภัย และเป็นสิริมงคล รวมถึงการรับประทานอาหารร่วมกันอย่างสามัคคี เทศกาลนี้ไม่เพียงแต่สะท้อนถึงการเคารพบรรพบุรุษ แต่ยังเป็นการรักษาประเพณีการสืบทอดวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่สำคัญในสังคมจีน แม้ว่าในปัจจุบันการเฉลิมฉลองอาจมีการปรับตัวตามยุคสมัย แต่จิตวิญญาณของเทศกาลนี้ยังคงยึดถือหลักการในความเชื่อและการเคารพบรรพบุรุษอย่างสูงสุด

การทำความสะอาดสุสานในวันเช็งเม็งจึงเป็นมากกว่ากิจกรรมที่มีไว้เพื่อรักษาความสะอาดทางกายภาพ แต่ยังเป็นการรวบรวมจิตวิญญาณของการเคารพ และสืบสานความเสียสละของอารยธรรมจีนในการรักษาความเชื่อและสานต่อเรื่องราวแห่งความเป็นมาของบรรพบุรุษให้ลูกหลานได้เรียนรู้และรักษาไว้ตลอดไป

ในปี 2568 นี้ วันที่ 5 เมษายนจะเป็นวันหลักของเทศกาล แต่คุณสามารถเริ่มไหว้ได้ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคมถึง 8 เมษายน แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละครอบครัว

การเตรียมตัวและปฏิบัติอย่างถูกต้องจะช่วยให้พิธีสมบูรณ์และเป็นสิริมงคล เพื่อแสดงความเคารพต่อความหมายที่แท้จริงของวันนี้ ขอให้ทุกครอบครัวได้ร่วมกันสืบสานประเพณีอันงดงามนี้ด้วยความตั้งใจและความปรารถนาดีต่อกันและกัน 

อ้างอิง https://www.huasenghong.com/blog/7457/cheng-meng-day

#เช็งเม้ง2568 #สุสานบรรพชน #สุสานแปลงฝัง #ฮวงซุ้ยบรรพบุรุษ #ช่องเก็บอัฐิชลบุรี #ช่องเก็บอัฐิบ้านบึง #ช่องเก็บอัฐิคู่ #ช่องเก็บอัฐิแบบจีน

ทำไมต้องเลือกบ้านหลังสุดท้ายที่เนอร์วาน่า เมมโมเรียล ปาร์ค

  •  จ่ายครั้งเดียวจบ ไม่มีค่าส่วนกลางรายปี
  •  สามารถผ่อนชำระได้
  •  เลือกโซนและขนาดได้ตามต้องการ
  •  มีคนดูแลความสะอาด และความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง
  • ใกล้กรุงเทพฯเพียง 2 ชั่วโมง

***ต้องการใช้ด่วน หรือต้องการย้ายสุสาน ย้ายอัฐิมาจากที่อื่นก็ทำได้***

ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติม

โทร: 0832495999

Line : @928qnsih (มี@ข้างหน้า)

Click : https://bit.ly/ShengJiThailand

: https://www.shengjithailand.com/